ออกกำลังกายคลายเศร้าบรรเทาเครียด
ออกกำลังกายเป็น
แนวทางหนึ่งที่จะคงไว้ซึ่งร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ความอ้วน และโรคอื่นๆอีกสารพัด
และนับวัน ผลการวิจัยยิ่งชี้ชัดว่า
การออกกำลังกายช่วยลดอาการทางจิตได้หลายอาการ
ไม่ว่าจะเป็นความเครียดหรือซึมเศร้า ทั้งยังป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการออกแรงอย่างหนัก เหงื่อตกมากๆ
การออกกำลังกายที่ให้ผลทางสุขภาพจิตนั้นแม้เพียงแค่เดินปกติสัก 10
นาทีก็ได้ผลแล้ว เพราะเราไม่ได้มุ่งหวังจะลดน้ำหนักสัก 1 -2
กิโลกรัมที่ต้องวิ่งเป็นระยะทางไกลๆ วิ่งเร็วๆให้เหงื่อแตกพรั่กๆ
ใน
ทาง ตรงกันข้าม การออกกำลังกายทางจิตวิทยานั้น
หมายถึงการทำร่างกายให้แอคทีฟขึ้นเพื่อส่งผลให้ลดอารมณ์ทางด้านลบและเพิ่ม
อารมณ์ด้านบวกให้มากขึ้น
และยิ่งมีการวางแผนให้เหมาะสมก็จะยิ่งได้ผลมากยิ่งขึ้นด้วย
แม้ว่า
กลไกที่การออกกำลังกายส่งผลลดอาการ เศร้า เครียด กดดัน เหนื่อยล้าจิตใจ
หงุดหงิดโมโห หรือแม้แต่สิ้นหวังนั้นยังไม่มีใครทราบแน่ชัด
แต่ในทางสรีรวิทยา
การออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับของสารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทที่ปรับ
อารมณ์ให้ดีขึ้น อย่างเช่น เอนดอร์ฟิน (endorphins) ช่วยคลายกล้ามเนื้อ
หลับลึกขึ้น ลดฮอร์โมนความเครียด และมีผลให้จิตใจสงบขึ้น
ประโยชน์ในทางสุขภาพจิต
- เพิ่ม
ความสำเร็จและความเชื่อมั่นในตนเอง ดอกเตอร์คริสตินกล่าวว่า
ความรู้สึกเชื่อมั่นมั่นใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองสำเร็จเป็นพลังด้านบวกที่
จะโน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบวกอื่นๆให้เกิดขึ้นตามมา
คนที่ซึมเศร้าจะขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
ดังนั้นการได้ออกกำลังกายจะเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมาสัมผัสความสำเร็จ
เล็กๆขั้นต้นได้อีกครั้งหนึ่งอันเป็นก้าวแรกของก้าวต่อๆไป
- หัน
เหความ สนใจไปในทางบวก เมื่อเวลาที่เราเศร้าหรือเครียด
เรามักสนใจหมกมุ่นกับตัวเอง กับอาการและผลของอาการ วนเวียนอยู่อย่างนั้น
สิ่งนี้เป็นผลาญเวลาไปกับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
นอกจากนั้นมันยังลดประสิทธิภาพในการขบคิดแก้ปัญหา ในทางตรงกันข้าม
การออกกำลังกาย ทำให้เราหันเหความสนใจออกไปเรื่องอื่น ละความคิดในแง่ลบลง
จะได้พบเห็นสิ่งต่างๆ พบผู้คนช่วยผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี
- เพิ่ม
ความมี คุณค่าในตัวเอง ฟื้นฟูอาการที่คิดว่าตัวเองไร้ค่าไร้ประสิทธิภาพ
ออกกำลังกายแม้เพียงนิดก็ช่วยให้เรามองตัวเองดีขึ้น เห็นคุณค่าในตัวเรา
และคิดที่จะทำตัวเราให้เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น
- จับ
คู่ในทางบวก ในระหว่างการออกกำลังกายนั้น
ร่างกายเรามีการเปลี่ยนแปลงของการหายใจ เหงื่อออก ชีพจรเร็วขึ้น
อาการที่เกิดขณะออกกำลังกายเหล่านี้เกิดขึ้นคู่กับความรู้สึกดีๆทางจิตใจของ
การได้ออกกำลังกาย ดังนั้นโดยอัตโนมัติจิตใจของเราก็จะจับคู่อาการใจสั่น
เหงื่อออก หายใจเร็วหรือขัด ไปในทางบวก ต่อต้านกับความรู้สึกเดิมๆ
ทำให้เรามองหรือเห็นอาการทำนองนี้ไปในด้านบวกมาก
- สิ่ง
แวดล้อมพร้อมสนับ สนุน
การออกกำลังกายเปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม
ผู้คนแวดล้อมในทางบวก พบปะผู้คน ยิ่งเป็นผู้คนที่ชอบออกกำลังกาย
คนเหล่านี้อารมณ์แจ่มใส เสริมอารมณ์ให้แจ่มใสง่ายขึ้น
- ทักษะ
การคิดใน ทางบวก
การทำอะไรในทางบวกที่จะจัดความเครียดความเศร้าเป็นประสบการณ์ด้านบวก
การได้ช่วยตัวเองด้วยการออกกำลังกายจึงทักษะหรือประสบการณ์ในด้านบวกให้
เพิ่มมากขึ้น
-
การฝืนความฝืด การลุกขึ้นมาออกกำลังกาย เป็นความฝืดที่ยิ่งใหญ่แบบหนึ่ง
แนวทางบางประการที่จะช่วยลดความฝืดเหล่านั้นลง เช่น
หาวิธีออกกำลังกายแบบที่เราสนุก ไม่ว่าจะเป็นชนิดของการออกกำลังกาย
เวลาที่สะดวก สถานที่รู้สึกดีๆ ตั้งเป้าแบบที่เป็นไปได้
การตั้งเป้าแบบเริ่มต้นก็จะออกกำลังกายหนึ่งชั่วโมงต่อวันนั้น
บางทีเป็นเป้าที่สูงเกินจริง ค่อยๆเริ่มค่อยๆทำครับ อาจแค่วันละ 5
นาทีแล้วเพิ่มก็ได้ จะได้มีกำลังเพราะทำสำเร็จได้ง่าย
ซอยย่อยแผนการออกกำลังกาย ให้แบ่งเป็น เดิน 10 นาที แกว่งแขน 5 นาที พัก 5
นาที วิ่งอีก 10 นาที อย่าคิดว่าการออกกำลังกายเป็นภาระ ให้คิดเสียว่า
มันเป็นยาชนิดหนึ่งที่จะช่วยรักษาหลายโรค ทั้งยังลดความเฉื่อย
เพิ่มความเชื่อมั่น เพิ่มการมองแง่บวก ฯลฯ
การแบ่งแผนการออกกำลังเป็น ข้อย่อยๆ
ช่วยให้เวลาที่เราทำไม่สำเร็จในขั้นใด จะไม่เสียหายไปทั้งหมด
ไม่ต้องเริ่มใหม่หมด เราสามารถที่จะเริ่มต้นในจุดต่อไป
ยึดมั่นกับการแผนออกกำลังกาย การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยาก
แต่การรักษาไว้ดูจะยากยิ่งกว่า สถานการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น
ฝนตก มีทางเลือกอื่นๆของการออกกำลังกาย การคิดถึงผลดีต่างๆในการออกกำลังกายและสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางดีที่เกิด ขึ้นจะช่วยให้เรายึดอยู่กับออกกำลังกายได้นานขึ้น
ที่มา..oknation.net
No comments:
Post a Comment